0

FTTx

2014-12-12 15:32:59 ใน Article บทความ » 0 13574 วิธีการออกแบบระบบ FTTx
      จากอดีตเทคโนโลยีการสื่อสารเราจะใช้สายส่งเป็นทองแดง ซึ่งมีขีดจำกัดในการส่งข้อมูลได้ไม่มาก จึงได้มีการพัฒนาเป็นสายไฟเบอร์
ออฟติคเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่มีมากขึ้นกว่าเดิม
 
                                        
Credit : ดร.สมมาตร แสงเงิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
 
โครงสร้าง FTTx จะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
            1.  Central Office(CO) หรือชุมสาย (OLT) จะเป็นฝั่ง Downstream โดยส่งข้อมูลด้วย 2 ความยาวคลื่น คือ ความยาวคลื่น1490 nm จะส่งเป็น Voice & Data และความยาวคลื่น 1550 nm จะส่งเป็น Video
            2. Fiber Optic หรือ Feeder จะเป็นส่วนของ Passive Optical Network (PON) จะอยู่ระหว่าง OLT กับ ONT โดยจะมี Splitter เป็นตัวกระจายสัญญาณไปยังผู้เช่า
            3. Residence หรือบ้านผู้เช่า (ONT) จะเป็นฝั่ง Upstream โดยจะส่งข้อมูลความยาวคลื่น 1310 nm กลับไปยัง OLT ซึ่งทางฝั่ง ONT นั้นจะไม่สามารถส่งความยาวคลื่น 1310 nm ออกมาได้ด้วยตัวเองเพื่อความปลอดภัยของผู้เช่า โดยจะสามารถส่งความยาวคลื่น 1310 nm ออกมาได้ก็ต่อเมื่อมีความยาวคลื่น 1490 nm หรือ 1550 nm จากฝั่งของ OLT มากระตุ้นเท่านั้น
              การออกแบบระบบ FTTx สิ่งแรกที่ต้องคำนึงคือ Splitter โดยดูจากลักษณะของทางฝั่ง ONT ว่ามีการกระจายตัวนั้นเป็นแบบใด

รูปแบบการกระจายสัญญาณจะมี 2 รูปแบบ คือ
             1. Centralized Splitting หรือ Single Splitter คือ จาก OLT จะเข้า Splitter 1 ตัว เช่น 1 x 32

                                            
 
Credit : www.exfo.com

ข้อดี      - สามารถ Maintenance ง่าย เพราะมี Splitter เพียงจุดแค่เดียว
            - การเพิ่มจำนวน Splitter ทำได้ง่าย
ข้อเสีย   - เปลืองสาย Optic เพราะต้องลากสายไปบ้านผู้เช่าทุกหลัง
 
             2. Distributed Splitting คือ จาก OLT จะเข้า Splitter มากกว่า 1 ตัว
 
  

Credit : www.exfo.com
 
ข้อดี     -  ประหยัดสาย Fiber Optic
ข้อเสีย  -  Maintenance ยาก เพราะต้องเข้าไปเช็คทีละจุดเพื่อหาจุดที่มีปัญหา
 
       มาตรฐานของ FTTx นั้นปัจจุบันจะมีอยู่ 2 มาตรฐานด้วยกันคือ GPON และ EPON โดยในประเทศไทยนั้นได้ใช้มาตรฐาน GPON ซึ่งในมาตรฐานนี้สามารถแบ่งเป็น Class ต่างๆ คือ A , B , B+ , C โดยเมืองไทยใช้ Class B+ โดยในมาตรฐานนี้จะต้องมีค่า Return Loss ต้องมากกว่า 32 dB เสมอและจะยินยอมให้เกิด Loss ได้ไม่เกิน 28 dB แต่ควรเผื่อ Loss ไว้สำหรับ Maintenance ในอนาคต
 
                                  

 Credit : www.exfo.com
 
วิธีการทดสอบระบบ FTTx
       1.การทดสอบ bi-directional เป็นการทดสอบแบบ 2 ทิศทางทั้งไปและกลับ โดยใช้อุปกรณ์ FOT-930 สามารถหาได้ทั้ง ORL , Insertion Loss รวมทั้งระยะทางของสายไฟเบอร์ที่เราทดสอบด้วย ซึ่งเป็นการทดสอบแบบ end to end คือจากหน้าอุปกรณ์ที่ OLT จนถึงหน้า ONT โดยจะทดสอบทั้ง 3 ความยาวคลื่นคือ 1310 nm , 1490 nm , 1550 nm โดยใช้เวลาเพียง 10 วินาที
            2.การหาคุณลักษณะของสายโดยใช้ OTDR เช่น AXS-110 โดยการทดสอบด้วย OTDR นั้นจะต้องยิงจากฝั่ง ONT ไปหา OLT
         3.การทดสอบ Link จริง (Activate Testing) โดยใช้อุปกรณ์ PON Power Meter (PPM-352C) โดยการต่อแบบ Pass-Through หรืออนุกรม โดยสามารถวัดได้พร้อมกันทั้ง 3 ความยาวคลื่นพร้อมกัน