0

Optical Fiber Fusion Splicing

2015-03-23 08:51:13 ใน Article บทความ » 0 6208 การต่อเชื่อมเส้นใยแก้วนำแสง (Optical fiber fusion splicing)
         การต่อเชื่อมเส้นใยแก้วนำแสงมีหลักการต่อเชื่อมแตกต่างกับกรณีของสายไฟโลหะ (metal wire) ดังแสดงการเปรียบเทียบในรูป 1 จากรูป 1(a) เป็นการต่อเชื่อมสายไฟโลหะจะเห็นว่าจะทำการต่อเชื่อมอย่างไรก็ได้และวิธีการต่อเชื่อมนั้นทำได้ง่ายไม่มีปัญหาอะไรเป็นพิเศษ แต่สำหรับกรณีของเส้นใยแก้วนำแสงนั้น ดังแสดงในรูป 1(b) จะเห็นว่าผิวด้านหน้าของ CORE ของเส้นใยแก้วนำแสงที่จะทำการต่อเชื่อมกันนั้นถ้าหากไม่ตรงกันพอดีแล้วจะทำการต่อเชื่อมไม่ได้ดี ดังนั้นการทำให้ CORE ของเส้นใยแก้วแสงที่มีขนาดเล็ก คือมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8-11 um สามารถปรับให้ตรงกันได้พอดี สะดวกรวดเร็วและทำการต่อเชื่อมกันได้อย่างมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมนั้นถือว่าเป็นหัวข้อพื้นฐานทางเทคนิคที่สำคัญอันหนึ่ง 

                                                                

                                      (a) การเชื่อมต่อสายโลหะหรือทองแดง                  (b) การเชื่อมต่อเส้นใยแก้วนำแสง

                                     รูป 1 แสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการต่อเชื่อมต่อสายโลหะหรือทองแดง
                                             กับการต่อเชื่อมเส้นใยแก้วนำแสง

            เนื่องจาก เส้นใยแก้วนำแสง ภายในทำจากแก้วที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็ก ดังนั้นจึงต้องใช้ผู้ชำนาญ และเครื่องมือหรืออุปกรณ์เฉพาะในเชื่อมต่อ สำหรับในการเชื่อมต่อเพื่อเพิ่มความยาวของเส้นใยแก้วนำแสงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีคือ
  1. แบบชั่วคราว การต่อแบบชั่วคราวนั้นจะเป็นลักษณะของการยึด เกาะเส้นใยแก้วนำแสงเข้าด้วยกัน
    1. Connector ซึ่งมีให้เลือกหลาย ๆ แบบขึ้นอยู่กับงานที่ทำ เช่น แบบ FC, ST, SC เป็นต้น

                                                                 

                                                                          รูปที่ 2 แสดง Connector ชนิดต่างๆ
 

              2.   Mechanical Splice เป็นการนำเส้นใยแก้วนำแสงเชื่อมต่อกันโดยมี transparent gel ช่วยในการลดค่า Loss และ Reflect 

                                                         
                                                                  รูปที่ 3 แสดง Mechanical Splice ชนิดต่างๆ

      2.   แบบถาวร จะต่อแแบบใช้ความร้อนโดยจะมีการใช้อุปกรณ์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะซึ่งเรียกว่า Fusion Splicer การเชื่อมต่อแบบถาวรโดยการให้ ความร้อนที่ปลายของเส้นใยแก้วนำแสงจนกระทั่งปลายทั้งสองเกิดการหลอมตัว จากนั้นเส้นใยแก้วนำแสงทั้งสองจะถูกดันเข้ามาเชื่อมต่อกันโดยอัตโนมัติ

                                      
                                                            รูปที่ 4 แสดงเครื่องมือ Fusion Splicer

                                        
                                      รูปที่ 5 แสดงการเชื่อมต่อเส้นใยแก้วนำแสงด้วยเครื่องมือ Fusion Splicer


ที่มา:       http://www.thefoa.org/tech/ref/termination/mechsplice.html
https://www.facebook.com/playgroundonline.net/posts/590703604280223
http://www.tice.ac.th/Online/Online2-2549/electronic/Tan/N%207.htm


บทความโดย
คุณศรัณย์  สงคง
Technical Manager
Digital Instrument